ครั้งที่ 4
วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับ
วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว มีขายทั่วไป หรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีใน
ท้องถิ่น และเหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตราย เช่น วัสดุที่มีปลายแหลมคม
แตกหักง่าย ภาชนะที่เคยใส่สารเคมี หรือน้ำยาต่าง ๆ ที่อาจยังติดค้าง
วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
• กระดาษ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่ายราคาไม่แพง
เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู
กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น
• การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ
เพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสม ไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป
• กระดาษวาดเขียน ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60 80 100
ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
• กระดาษโปสเตอร์ มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้าแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
• กระดาษมันปู เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา
ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ
ปะกระดาษ
• กระดาษจากนิตยสาร เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ
เพราะไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
• กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสารแต่จะบางกว่าแต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า
แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน
ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ
สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
• สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก
สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร
สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
• สีเทียน
( Caryon ) คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้ง แล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด
สีเทียนที่ดีควรมีสีสดไม่มีไขเทียนมากเกินไป
สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี
เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา
ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต
เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย
หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า
เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย
• สีชอล์กเทียน (oil pasteal) เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา
โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา
เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง
เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ
และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
• สีเทียนพลาสติก (plastic crayon) ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม
ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ
จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้
แต่มีราคาแพงมาก
• สีเมจิก (Water color) บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี
2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส
เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น
หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ
จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย
• ปากกาปลายสักหลาด(felt pen) บางทีเรียก ปากกาเคมี
เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี
เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก
ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว
ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ
• ดินสอ (pencil) เด็กๆ
ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป เหมือนผู้ใหญ่ทำกัน แต่อย่างไรก็ดี
ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี
เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป
• ดินสอสี (color pencil) หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ
มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ
มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ
สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ
• สีประเภทนี้
ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ สีโปสเตอร์
สีผสมอาหาร สีพลาสติกผสมน้ำ สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ
• สีฝุ่น(Tempera) เป็นสีผง ทึบแสง มีหลากสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกเวลาใช้ต้องผสมของเหลวที่เหมาะสมนอกจากน้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่
• สีโปสเตอร์ (Poster color) ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่นเป็นสีที่เด็กๆใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆจะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อนระบายได้เรียบ
• สีน้ำ (Water color) เด็กเล็กๆมักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้เด็กจะต้องคอยใช้พู่กันกับจานสีอยู่เสมอจึงวาดได้ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆเส้นต่างๆจะไหลไปถึงกัน ทำให้ภาพไม่ชัดเจน
• สีพลาสติก (Plstic or acrylic) บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด เพมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มในน้ำไว้เสมอขณะทีพักการใช้ชั่วคราว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งแร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้
• สีจากธรรมชาติ สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจะเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้รูปแบบต่างๆ
วัสดุในการทำศิลปะ
• กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียวเรียกว่าแป้งเปียก
ราคาถูกใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้นล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร
หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน
มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทนหากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่
• ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด
ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น
ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
• ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่
มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อ เจออากาศเย็น
เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
• ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี
ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็น อันตรายเจือปน
จึงเหมาะสำหรับเด็ก
วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำศิลปะ
เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานเป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งๆนั้น
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
สี : เป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
สี : เป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
- สีจากธรรมชาติ : สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
- สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา : สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก
ทฤษฎีสี (Theorym of colors)
สีที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก
เมื่อเรียนเสร็จ อาจารยได้สั่งการบ้าน 2 ชิ้นให้กลับไปทำ คือร่างเส้นต่อจุดภาพสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต
วันพฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558
วันนี้อาจารย์ให้นำผลงานทั้งหมดมาแปะไว้หน้าห้อง เพื่อนแสดงผลงานให้เพื่อนๆดู
- วาดต่อเติม
- ออกแบบลวดลาย
- เติมลวดลายลงในภาพวาด
- ร่างภาพต่อจุดสิ่งที่มีชีวิต
-ร่างภาพต่อจุดสิ่งไม่มีชีวิต
อาจารย์ให้ทำชิ้นงานทั้งหมดเพราะอยากให้รู้ถึงเส้นของศิลปะการใช้เส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่งโดยผ่านจุดต่างๆนั้นล้วนแต่มีความหมายซึ่งทำให้เกิดภาพหรือเรื่องราวต่างๆภาพบางภาพไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป
- ออกแบบลวดลาย
- เติมลวดลายลงในภาพวาด
- ร่างภาพต่อจุดสิ่งที่มีชีวิต
-ร่างภาพต่อจุดสิ่งไม่มีชีวิต
อาจารย์ให้ทำชิ้นงานทั้งหมดเพราะอยากให้รู้ถึงเส้นของศิลปะการใช้เส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่งโดยผ่านจุดต่างๆนั้นล้วนแต่มีความหมายซึ่งทำให้เกิดภาพหรือเรื่องราวต่างๆภาพบางภาพไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป
การนำไปใช้
- สามารถนำกิจกรรมต่างๆไปปรับประยุกต์ให้เด็กทำได้
- สามารถนำความรู้เรื่องจุดไปใช้ในอนาคตได้สร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย
- นำเทคนิคต่างที่ได้ไปใช้ในการสอน
การประเมิน
อาจารย์ เนื้อหาการเรียนการสอนเข้าใจง่าย สอนตรงเวลากิจกรรมที่หลากหลาย มีตัวอย่างกิจกรรมเสมอ
ตนเอง แต่งกายตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึก
เพื่อน ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น